คำอธิบาย
🍧 ผู้เขียน: ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์
🍧 รหัสสินค้า: 9786167657721
บทคัดย่อ/สารบัญ
๑. คำถาม การเปลี่ยนมูลหนี้ จากมูลหนี้อย่างหนึ่งไปเป็นมูลหนี้อีกอย่างหนึ่งเป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่
๒. คำถาม ผู้รับจำนองจะต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่มีการจำนองหรือไม่ หากผู้รับจำนองยังไม่อยู่ในฐานเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองจะฟ้องบังคับจำนองได้หรือไม่
๓. คำถาม การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จะต้องให้ลูกหนี้เดิมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
๔. คำถาม ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ยอมให้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินที่จำนองหรือไม่
๕. คำถาม ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายขณะที่ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดผิดสัญญาหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่
๖. คำถาม บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถูกกำจัดมิให้รับมรดก ผู้สืบสันดานของบุตรบุญธรรมสามารถสืบมรดกได้หรือไม่
๗. คำถาม ผู้รับซื้อฝากรับชำระเงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกำหนดเวลาไถ่ตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน เป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่หรือไม่
๘. คำถาม กรอกจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินมากกว่าจำนวนหนี้กู้ยืมที่มีอยู่จริงในวันทำสัญญากู้ยืมหรือแก้ไขจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้กู้จะถือว่าการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่
๙. คำถาม คำสนองรับคำเสนอขอซื้อที่ดินมีข้อความว่า ตกลงจะขายให้โดยจะต้องรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในเวลาที่กำหนดไว้ จะถือว่าเป็นคำสนองรับที่มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือว่าเป็นคำบอกปิดไม่รับคำเสนอบางส่วนทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว หรือไม่
๑๐. คำถาม ทายาทในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนชื่อทางทะเบียนที่ดินทรัพย์มรดกมาเป็นของตนเพียงผู้เดียว แล้วนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมไว้แก่ผู้รับจำนอง ดังนี้ การจำนองจะผูกพันส่วนแบ่งในที่ดินของทายาทอื่นหรือไม่
๑๑. คำถาม การก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ยันบุคคลภายนอกผู้ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต ได้หรือไม่
๑๒. คำถาม บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดให้บิดาของตนถึงแก่ความตายได้หรือไม่
๑๓. คำถาม การด่าด้วยความรู้สึกเกลียดชังทำนองว่าเป็นคนไม่ดี จะถือเป็นการนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมากล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ หรือเป็นละเมิดตามมาตรา ๔๒๐ หรือไม่
๑๔. คำถาม การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง อันเป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๒๓ หากข้อความที่ร้องเรียนเป็นความจริงจะเข้าหลักเกณฑ์ตามบทมาตราดังกล่าวหรือไม่
๑๕. คำถาม ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมยกเงินให้บุตรโดยเสน่หาด้วยการเปิดบัญชีเงินฝากให้โดยที่ลูกหนี้ยังมีหนี้ค้างชำระแก่เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมาก เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวหรือไม่
๑๖. คำถาม บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ตกลงยกบ้านให้แก่บุตรผู้เยาว์เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาหรือไม่ มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมระบุทรัพย์สินดังกล่าวให้ผู้อื่นผลเป็นอย่างไร
๑๗. คำถาม สัญญาจะขายที่ดินและอาคารชุดผู้จะขายจะโอนหนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาให้แก่บุคคลอื่น โดยผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องและภาระหนี้ต่อจากลูกค้า ผู้จะซื้อห้องชุดดังกล่าวทุกรายจากผู้จะขายนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาได้หรือไม่
๑๘. คำถาม การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีผลบังคับกันได้หรือไม่และผูกพันทายาทของเจ้าของที่ดินหรือไม่ และจะฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินได้หรือไม่
๑๙. คำถาม ผู้รับจ้างทำหนังสือโอนสิทธิที่จะได้รับตามสัญญาจ้างจากผู้ว่าจ้างให้แก่ผู้รับโอน และผู้รับจ้างมีหนังสือแจ้งการโอนไปยังผู้ว่าจ้างแล้ว ดังนี้ผู้ว่าจ้างจะยกข้อต่อสู้ว่า ได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้รับจ้างให้ชำระหนี้ เพราะผู้รับจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับโอน ได้หรือไม่
๒๐. คำถาม เจ้าของรวมคนหนึ่งทำสัญญาขายที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้แก่ผู้อื่น ซึ่งรับซื้อไว้โดยสุจริต โดยเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและไม่ได้ให้ความยินยอมจะมีผลผูกพันเจ้าของรวมคนอื่นหรือไม่
ฯลฯ