คำอธิบาย
🍧 ผู้เขียน: ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ (ผู้พิพากษา)
🍧 รหัสสินค้า: 9786167657691
บทคัดย่อ/สารบัญ
๑. คำถาม คดีที่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจะต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันหรือไม่
๒. คำถาม คดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์และเรียกค่าเสียหายจำเลย มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงหรือไม่
๓. คำถาม เจ้าหนี้โอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นโดยสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องทำที่สำนักงานของผู้รับโอน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่ผู้รับโอน จะถือว่าเป็นมูลคดีเกิดขึ้นที่ใด
๔. คำถาม คดีมโนสาเร่ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลพิพากษาให้แพ้คดี จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เหมือนคดีแพ่งสามัญหรือไม่
๕. คำถาม คดีแพ่ง คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้หรือไม่
๖. คำถาม เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งตกเป็นภาระจำยอม จะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี กรณีที่มีปัญหาในการบังคับคดีระหว่างโจทก์จำเลยหรือไม่
๗. คำถาม คดีฟ้องเรียกร้องให้รับผิดใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียง เพราะผิดสัญญาหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๐ (๑) คดีฟ้องเรียกร้องให้คืนของหมั้น ให้ชำระค่าสินสอดตามมาตรา ๑๔๓๗ วรรคสาม เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวหรือไม่
๘. คำถาม การยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบต่อศาลจังหวัด ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่
๙. คำถาม การขอแก้ไขคำพิพากษาตามยอมในส่วนที่เกี่ยวกับการคืนค่าขึ้นศาล ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๓ หรือไม่
๑๐. คำถาม ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยฎีกา ดังนี้ โจทก์จะถอนฟ้องได้หรือไม่ และจะมีผลต่อฎีกาของจำเลยหรือไม่
๑๑. คำถาม การยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์โดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะได้หรือไม่
๑๒. คำถาม ในคดีแพ่ง โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้ร้องหรือแถลงว่า ไม่ฟ้องจำเลยอีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์เองว่าไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องแล้วหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก อนุญาตให้ถอนฟ้อง ดังนี้ โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้หรือไม่
๑๓. คำถาม คดีก่อนศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่ากรณียังไม่ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕ โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จะเป็นฟ้องซ้ำ หรือไม่
๑๔. คำถาม คดีแพ่งที่ไม่มีวันชี้สองสถานและวันสืบพยานจำเลยมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายในกำหนดระยะเวลาใด และเรื่องที่ขอแก้ไขจะต้องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่
๑๕. คำถาม หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายคำฟ้องหรือไม่
ฯลฯ